ผ้าขาวม้าลายตาคีบเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นไทย ‘ผ้าขาวม้า’ คือหนึ่งในความภาคภูมิใจที่อยู่กับเรามานานหลายยุคสมัย เกือบทุกท้องถิ่นต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้าน แต่คุณอาจไม่ทราบมาก่อนว่า เบื้องหลังความธรรมดาของผ้าขาวม้านั้น มีที่มาไม่ธรรมดา รวมถึงมีพัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง ผ้าขาวม้าไทเทิง (กลุ่มคนอาศัยบนที่สูง) มีชนเผ่าภูไทย ไททรงดำ ไทแสก และกลุ่มที่อพยพ หนีภัยสงคราม จาก เวียตนาม เช่น ชนบางส่วนจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ ร้อยเอ็ด มีจุดเด่นต่างกันคือลวดลายคละสลับกันคือ ลายเส้นหนาอยู่แนบชิดกัน ๒ เส้น เรียกว่า ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ เป็นลายที่สะท้อนให้เห็นการรวมกลุ่มหรือความกลมเกลียว ผ้าขาวม้าไทลุ่ม (กลุ่มชนอาศัยที่ลาบลุ่ม) เช่นกลุ่มคนบางส่วนของร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม ขอนแก่น .เป็นตารางหมากรุกประมาณนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง แดงดำ ขาวน้ำเงิน โดยเฉพาะผ้าขาวม้าลาย ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ นั้น ไทอำเภอโพธิ์ชัยได้นำมาประยุกต์ เนื่องจากพบ ปัญหาด้านวัตถุดิบที่สาคัญคือ การเลือกใช้และการขาดแคลนวัตถุดิบ วัตถุดิบมีราคาสูง เพราะต้องซื้อวัตถุดิบจากแหล่งอื่น โดยเฉพาะใยฝ้ายสําหรับผ้าทอพื้นบ้าน ส่วนใหญ่ต้องซื้อที่อื่น ไม่ได้นําวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาใช้ เส้นใยธรรมชาติส่วนใหญ่ใช้เพียงเส้นใยจากฝ้าย นอกจากนี้ชาวบ้านหลายกลุ่มยังต้องซื้อ วัตถุดิบจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งได้ทําต่อๆ กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จึงไม่มีความรู้ว่าวัตถุดิบที่ซื้อมามี คุณภาพหรือไม่ และยังเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่ขาย เส้นด้ายที่มีราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ บางครั้งซื้อเส้นด้ายที่มีส่วนผสมของ เส้นใยสังเคราะห์ผสมอยู่ด้วย หรือมีคุณภาพดีแต่ราคาแพง ทําให้ต้นทุนของผ้าทอสูงขึ้น เป็นปัญหาที่ กลุ่มชาวบ้านที่ทอผ้าส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ วัตถุดิบที่ให้สีและการย้อมผ้า ทั้งการย้อมด้วยสีสังเคราะห์ (เคมี) และย้อมด้วยสีธรรมชาติมีปัญหาย้อมสีสังเคราะห์หรือที่เรียกว่าสีเคมีแล้วสีตก สีไม่ติดบนผ้า ถ้าใช้สี ธรรมชาติพืชที่ให้สีย้อมเริ่มมีจํากัด ไม่มีการอนุรักษ์และส่งเสริมการปลูก การ ย้อมสีธรรมชาติก็ยังมีปัญหาเรื่องการติดสีสีธรรมชาติไม่ทนต่อการซักและแสงแดด เมื่อใช้ไปนานๆ สี จะซีดจางลงเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของผ้าขาวม้าประจำอำเภอโพธิ์ชัย กลุ่มผู้ผลิตได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากส่วนราชการ และองค์กรส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ปรับปรุงสีที่เข้ากับวีชีวิตของเรา จึงได้สี “สีส้มฟางข้าว” ซึ่งเป็นสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ชาวบ้านนิยมนำสีนี้กับสิ่งที่ตนผูกพันและนับถือ เช่น การประดิษฐ์เครื่องจักสาน เครื่องสมมาซึ่งเป็นเครื่อง ถึงความรักที่มั่นคง นําไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ สิ่ง เหล่านี้เป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์และความกตัญญูทําให้เชื่อว่าจะนําความเจริญรุ่งเรือง ให้พวกตนมีพลังในการดํารงชีวิตที่ดีต่อไป ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าลาย ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการแล้ว กลุ่มผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น ๔ ชนิดตามที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการดังนี้๑) หมอนอิง ๒) กล่องทิชชู๓) กระเป๋าสตรีและ ๔) เสื้อผ้า โดยจะออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงใหม่ ซึ่งหมายถึง ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีการปรับปรุงในลักษณะใดลักษณะ หนึ่ง ทําให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอีกครั้ง
ผ้าขาวม้าลายตาคีบ
ตอบลบเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นไทย ‘ผ้าขาวม้า’ คือหนึ่งในความภาคภูมิใจที่อยู่กับเรามานานหลายยุคสมัย เกือบทุกท้องถิ่นต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้าน แต่คุณอาจไม่ทราบมาก่อนว่า เบื้องหลังความธรรมดาของผ้าขาวม้านั้น มีที่มาไม่ธรรมดา รวมถึงมีพัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง
ผ้าขาวม้าไทเทิง (กลุ่มคนอาศัยบนที่สูง) มีชนเผ่าภูไทย ไททรงดำ ไทแสก และกลุ่มที่อพยพ หนีภัยสงคราม จาก เวียตนาม เช่น ชนบางส่วนจังหวัดนครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ ร้อยเอ็ด มีจุดเด่นต่างกันคือลวดลายคละสลับกันคือ ลายเส้นหนาอยู่แนบชิดกัน ๒ เส้น เรียกว่า ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ เป็นลายที่สะท้อนให้เห็นการรวมกลุ่มหรือความกลมเกลียว
ผ้าขาวม้าไทลุ่ม (กลุ่มชนอาศัยที่ลาบลุ่ม) เช่นกลุ่มคนบางส่วนของร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม ขอนแก่น .เป็นตารางหมากรุกประมาณนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง แดงดำ ขาวน้ำเงิน
โดยเฉพาะผ้าขาวม้าลาย ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ นั้น ไทอำเภอโพธิ์ชัยได้นำมาประยุกต์ เนื่องจากพบ ปัญหาด้านวัตถุดิบที่สาคัญคือ การเลือกใช้และการขาดแคลนวัตถุดิบ วัตถุดิบมีราคาสูง เพราะต้องซื้อวัตถุดิบจากแหล่งอื่น โดยเฉพาะใยฝ้ายสําหรับผ้าทอพื้นบ้าน ส่วนใหญ่ต้องซื้อที่อื่น ไม่ได้นําวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาใช้ เส้นใยธรรมชาติส่วนใหญ่ใช้เพียงเส้นใยจากฝ้าย นอกจากนี้ชาวบ้านหลายกลุ่มยังต้องซื้อ วัตถุดิบจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งได้ทําต่อๆ กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จึงไม่มีความรู้ว่าวัตถุดิบที่ซื้อมามี คุณภาพหรือไม่ และยังเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่ขาย เส้นด้ายที่มีราคาถูกแต่ไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ บางครั้งซื้อเส้นด้ายที่มีส่วนผสมของ เส้นใยสังเคราะห์ผสมอยู่ด้วย หรือมีคุณภาพดีแต่ราคาแพง ทําให้ต้นทุนของผ้าทอสูงขึ้น เป็นปัญหาที่ กลุ่มชาวบ้านที่ทอผ้าส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาอีกประการหนึ่งคือ วัตถุดิบที่ให้สีและการย้อมผ้า ทั้งการย้อมด้วยสีสังเคราะห์ (เคมี) และย้อมด้วยสีธรรมชาติมีปัญหาย้อมสีสังเคราะห์หรือที่เรียกว่าสีเคมีแล้วสีตก สีไม่ติดบนผ้า ถ้าใช้สี ธรรมชาติพืชที่ให้สีย้อมเริ่มมีจํากัด ไม่มีการอนุรักษ์และส่งเสริมการปลูก การ ย้อมสีธรรมชาติก็ยังมีปัญหาเรื่องการติดสีสีธรรมชาติไม่ทนต่อการซักและแสงแดด เมื่อใช้ไปนานๆ สี จะซีดจางลง
เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของผ้าขาวม้าประจำอำเภอโพธิ์ชัย กลุ่มผู้ผลิตได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากส่วนราชการ และองค์กรส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง ปราชญ์ชาวบ้าน ให้ปรับปรุงสีที่เข้ากับวีชีวิตของเรา จึงได้สี “สีส้มฟางข้าว” ซึ่งเป็นสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น ชาวบ้านนิยมนำสีนี้กับสิ่งที่ตนผูกพันและนับถือ เช่น การประดิษฐ์เครื่องจักสาน เครื่องสมมาซึ่งเป็นเครื่อง ถึงความรักที่มั่นคง นําไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ สิ่ง เหล่านี้เป็นการบ่งบอกถึงความสัมพันธ์และความกตัญญูทําให้เชื่อว่าจะนําความเจริญรุ่งเรือง ให้พวกตนมีพลังในการดํารงชีวิตที่ดีต่อไป
ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าลาย ลายตากิ๊บ หรือลายตาคีบ ที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการแล้ว กลุ่มผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น ๔ ชนิดตามที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต้องการดังนี้๑) หมอนอิง ๒) กล่องทิชชู๓) กระเป๋าสตรีและ ๔) เสื้อผ้า โดยจะออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงใหม่ ซึ่งหมายถึง ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีการปรับปรุงในลักษณะใดลักษณะ หนึ่ง ทําให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอีกครั้ง