ยุทธศาสตร์จังหวัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 56
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จังหวัดร้อยเอ็ด
------------------------------- 
จังหวัดร้อยเอ็ดได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ของจังหวัด    
“เป็นผู้นำการผลิตข้าวหอมมะลิสู่ตลาดโลก  เมืองแห่งการท่องเที่ยววิถีพุทธ  และสังคมสงบสุข”
2. พันธกิจ 
2.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพและมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิ
2.2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต  การท่องเที่ยว  และการบริการให้ได้มาตรฐาน
2.3 พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม  จริยธรรมเป็นภูมิคุ้มกันสังคม
3. ค่านิยมจังหวัด
“มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  บูรณาการความร่วมมือ  ยึดถือหลักคุณธรรม”
4. ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด/กลยุทธ์   
4.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 :  ส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรให้แข่งขันได้ 
     ¡ เป้าประสงค์ : เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในภาคการเกษตร 
     ¡ ตัวชี้วัด พื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิตามระบบ GAPเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25 ต่อปี
     ¡ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา :  
s กลยุทธ์ 1.1 : ยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิต  มีแนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ
1) พัฒนาการผลิตและโครงสร้างพื้นฐาน  โดยการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร (การผลิตข้าวหอมมะลิ)
ได้แก่ การพัฒนาระบบกักเก็บน้ำและคลองส่งน้ำ  การพัฒนาระบบการส่งน้ำและกระจายน้ำ  การพัฒนาแหล่งน้ำแก้มลิง  การปรับปรุงคุณภาพดิน  การส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ดี  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมะลิตามมาตรฐาน GAP  ดังนั้น หากมีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการผลิตแล้ว  จะสามารถยกระดับมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นได้    
2) สร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิให้แข่งขันได้  โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ  การแปรรูปข้าวหอมมะลิ  รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ  ดังนั้น หากมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวหอมมะลิแล้ว จะเป็นการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิให้สามารถแข่งขันและเข้าสู่ตลาดโลกได้   

s กลยุทธ์ 1.2 :  ส่งเสริมการตลาดข้าวหอมมะลิสู่สากล   มีแนวทางการพัฒนา คือ การพัฒนาระบบตลาดให้ยั่งยืน  โดยการพัฒนาระบบตลาดอย่างต่อเนื่อง
การจัดทำบรรจุผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิ  ตลอดจนการประชาสัมพันธ์โดยการจัดงานวันข้าวหอมมะลิโลก  ดังนั้น หากได้มีการพัฒนาการตลาดตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นอย่างต่อเนื่องแล้ว  จะทำให้การตลาดข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดมีความยั่งยืน
4.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 :  ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว และการบริการ
     ¡ เป้าประสงค์ : เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว และการบริการให้สามารถแข่งขันได้  
     ¡ ตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ร้อยละ 5 ต่อปี
     ¡ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา :  
s กลยุทธ์ 2.1 : พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว และการบริการ  มีแนวทางการพัฒนา คือ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความ
สะดวก  โดยการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีสภาพที่ดีขึ้นสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้
s กลยุทธ์ 2.2 : พัฒนาผลิตภาพการผลิตและบริการ  มีแนวทางการพัฒนา คือ การพัฒนาผลิตภาพด้านการผลิต ด้านการบริการ และด้านการท่องเที่ยว  
โดยการส่งเสริมและพัฒนากีฬาฟุตบอลของจังหวัด  รวมทั้งเน้นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP 
4.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 :  พัฒนาคนและสังคมให้เข้มแข็ง
     ¡ เป้าประสงค์ :         
1. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน
2. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของคนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้
     ¡ ตัวชี้วัด :      
1. ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการมลพิษด้านดิน น้ำ และป่าไม้ ระดับ 5 ต่อปี
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร้อยละ 85 ต่อปี
3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีตามเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 5 ต่อปี
     ¡ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา :          
s กลยุทธ์ 3.1 : บริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ 
1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก  โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่  การปรับปรุง/ซ่อมสร้างถนนที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้เส้นทางสัญจร  รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าการเกษตรให้แก่เกษตรกร ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม
                   2) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกบุกรุกและทำลายให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ  เช่น การสร้างฝายต้นน้ำลำธาร   และการผลิตกล้าไม้ขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้แก่ชุมชน
s กลยุทธ์ 3.2 :  พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  มีแนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง คือ 
1) การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ  โดยจังหวัดได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ   การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อ
ให้บริการประชาชน การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรภาครัฐ
2) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  โดยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
s กลยุทธ์ 3.3 :  ยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง  มีแนวทางการพัฒนา  2 แนวทาง คือ   
1) การพัฒนาศักยภาพคนและสังคมให้เข้มแข็ง  โดยการพัฒนาศักยภาพแรงงานและสร้างอาชีพเสริมให้แก่ประชาชน  การพัฒนาทักษะฝีมือการกรีดยางพารา  การยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  การพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่ครัวเรือนยากจน  การส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน
2) การเพิ่มศักยภาพการรักษาความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของประชาชน  โดยการส่งเสริมองค์ความรู้ทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย  การพัฒนาและปรับปรุงพฤติกรรม จริยธรรม และคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน   ตลอดจนการป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด






การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT  Analysis)
------------------------------- 
จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีศักยภาพในการพัฒนา ดังนี้
1) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มากที่สุด เนื่องจากทุ่งกุลาร้องไห้ถือว่าเป็นพื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดีที่สุดและมีเอกลักษณ์ความหอมเฉพาะตัว
เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ  สามารถที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายข้าวหอมมะลิสู่ตลาดโลกได้
2) เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์โบราณสถาน/โบราณวัตถุ  แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา  โดยได้มุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงวิถีพุทธ  ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา  ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก 
3) เป็นจังหวัดที่มีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งไม่มีปัญหาด้านอาชญากรรมที่รุนแรง
จังหวัดร้อยเอ็ดได้เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของจังหวัด (Stakeholder) ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์กรเอกชน 
ภาคประชาชน  และภาคประชาสังคม  ประชุมทบทวนและประเมินสถานการณ์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของจังหวัด ประกอบด้วย การวิเคราะห์จุดแข็ง  จุดอ่อน  โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT  Analysis) รวมทั้งการวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน  นโยบายรัฐบาล  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ยุทธศาสตร์รายสาขา  และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นจังหวัด  สรุปได้ดังนี้
SWOT
จุดแข็ง (Strength)
1. พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณร้อยละ 46 อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด
2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องให้ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีคุณภาพและมีชื่อเสียงทั่วโลก
3. มีศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ รวมทั้งมีแหล่งผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิชั้นดี  
4. มีการท่องเที่ยววิถีพุทธ และเชิงวัฒนธรรม เช่น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล กู่กาสิงห์  วัดป่ากรุง เจดีย์หลวงตามหาบัว
บุญผะเหวด  บุญข้าวจี่ของดีเมืองโพธิ์ชัย และบุญคูนลานฯ
จุดอ่อน (Weakness)
1. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (GPP) และประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สิน
2. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่ำในความเป็นอยู่ในสังคม มีส่วนร่วมน้อยไม่เข้มแข็งและมีการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรออกนอกพื้นที่
3. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งยั่วยุและความรุนแรง เยาวชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การขาดแคลนแรงงาน ทำให้ค่าแรง และต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น
4. สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ยังไม่เข้มแข็ง สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง ทำให้เยาวชนขาดความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่นจากคนในครอบครัว เช่น การหย่าร้าง ปัญหาเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด ความยากจน เป็นต้น
5. สัดส่วนผลผลิตข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดมีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ รวมกัน และประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพต่ำ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
6. กำลังการผลิตของโรงอบข้าวโดยรวม น้อย เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตข้าวต่อปี จำนวนโรงสีขนาด 30 แรงม้าขึ้นไป มีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ที่ผลิตข้าวหอมมะลิ
7. ระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในทุ่งกุลาร้องไห้ และภายในจังหวัดยังไม่ทั่วถึง
8. ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและพื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลง
SWOT
โอกาส (Opportunity)
1. มีกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการตื่นตัวในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
2. รัฐบาลมีการกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การดำเนินงานของภาครัฐ
3. ทั่วโลกรู้จักข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนแบ่งข้าวหอมมะลิในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวอื่นๆ และคู่แข่งทางการค้า(ข้าวหอมมะลิไทย) ระดับนานาชาติมีน้อย
4. แนวโน้มตลาดให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยมากขึ้น
5. ได้ขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ในสหภาพยุโรป (EU) และได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
6. มีความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/นิเวศ/วัฒนธรรมและศาสนามากขึ้น
7. มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทุกปีอยู่ในระดับปานกลาง (1,400 มม.ต่อปี) ซึ่งเพียงพอต่อภาคการเกษตร
8. ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น น้ำท่วมในจีน  เวียดนาม  
สึนามิในญี่ปุ่น ฯลฯ
9. ศูนย์กลางการเงินมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
10. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ทำให้สามารถขยายตลาดการค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียนได้มากยิ่งขึ้น
อุปสรรค (Threat)
1. การเมืองไม่มีเสถียรภาพและเกิดความขัดแย้งด้านความคิดในหมู่ประชาชน
2. ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  และค่าจ้างแรงงาน
3. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้การแข่งขันด้านการค้า มีแนวโน้มสูงขึ้น ตลาดการค้าข้าวในต่างประเทศมีการแข่งขันสูง (ข้าวชนิดอื่นราคาถูกกว่า) และมีคู่แข่งทางการค้าข้าวหอมมะลิระดับชาติ  เช่น สหรัฐอเมริกา (แจสแมนไรซ์) ข้าวจากประเทศเวียดนาม ตลอดจนคู่แข่งภายในประเทศมีแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น
4. ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (ปริมาณน้ำฝน  สภาพภูมิอากาศ  ห้วงระยะเวลาของฤดูฝน ฯลฯ)  มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวหอมมะลิ
5. เกิดโรคระบาดใน คน พืช และสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009   ไวรัสในหมู   E-coli  ไข้เลือดออก  ฉี่หนู   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


กลยุทธ์ภายใต้ศักยภาพการพัฒนาจังหวัด

TOWS MATRIX
จุดแข็ง (Strength)
1. พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณร้อยละ 46 อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด
2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องให้ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีคุณภาพและมีชื่อเสียงทั่วโลก
3. มีศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ รวมทั้งมีแหล่งผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิชั้นดี  
4. มีการท่องเที่ยววิถีพุทธ และเชิงวัฒนธรรม เช่น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
กู่กาสิงห์  วัดป่ากรุง เจดีย์หลวงตามหาบัว บุญผะเหวด  บุญข้าวจี่ของดีเมืองโพธิ์ชัย และบุญคูนลานฯ
โอกาส (Opportunity)
1. มีกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการตื่นตัวในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
2. รัฐบาลมีการกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การดำเนินงานของภาครัฐ
3. ทั่วโลกรู้จักข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนแบ่งข้าวหอมมะลิในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวอื่นๆ และคู่แข่งทางการค้า(ข้าวหอมมะลิไทย) ระดับนานาชาติมีน้อย
4. แนวโน้มตลาดให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยมากขึ้น
5. ได้ขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ในสหภาพยุโรป (EU) และได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
6. มีความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/นิเวศ/วัฒนธรรมและศาสนามากขึ้น
7. มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทุกปีอยู่ในระดับปานกลาง (1,400 มม.ต่อปี)  ซึ่งเพียงพอต่อภาคการเกษตร
8. ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น น้ำท่วมในจีน  เวียดนาม  สึนามิในญี่ปุ่น ฯลฯ
9. ศูนย์กลางการเงินมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
10. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ทำให้สามารถขยายตลาดการค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียนได้มากยิ่งขึ้น
กลยุทธ์ (SO)  การกำหนดกลยุทธ์ภายใต้ศักยภาพของจุดแข็งและโอกาส  ได้แก่ 
1. ส่งเสริมการตลาดข้าวหอมมะลิสู่สากล
2. พัฒนาศักยภาพการประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต  การท่องเที่ยว  และการบริการ


TOWS MATRIX
จุดแข็ง (Strength)
1. พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณร้อยละ 46 อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด
2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องให้ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีคุณภาพและมีชื่อเสียงทั่วโลก
3. มีศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ รวมทั้งมีแหล่งผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิชั้นดี  
4. มีการท่องเที่ยววิถีพุทธ และเชิงวัฒนธรรม เช่น พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
กู่กาสิงห์  วัดป่ากรุง เจดีย์หลวงตามหาบัว บุญผะเหวด  บุญข้าวจี่ของดีเมืองโพธิ์ชัย และบุญคูนลานฯ
อุปสรรค (Threat)
1. การเมืองไม่มีเสถียรภาพและเกิดความขัดแย้งด้านความคิดในหมู่ประชาชน
2. ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  และค่าจ้างแรงงาน
3. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้การแข่งขันด้านการค้า มีแนวโน้มสูงขึ้น ตลาดการค้าข้าวในต่างประเทศมีการแข่งขันสูง (ข้าวชนิดอื่นราคาถูกกว่า) และมีคู่แข่งทางการค้าข้าวหอมมะลิระดับชาติ  เช่น สหรัฐอเมริกา (แจสแมนไรซ์) ข้าวจากประเทศเวียดนาม ตลอดจนคู่แข่งภายในประเทศมีแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น
4. ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (ปริมาณน้ำฝน  สภาพภูมิอากาศ  ห้วงระยะเวลาของฤดูฝน ฯลฯ)  มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวหอมมะลิ
5. เกิดโรคระบาดใน คน พืช และสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009   ไวรัสในหมู   E-coli  ไข้เลือดออก  ฉี่หนู   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
กลยุทธ์ (ST)  การกำหนดกลยุทธ์ภายใต้ศักยภาพของจุดแข็งและอุปสรรค 
-






TOWS MATRIX
จุดอ่อน (Weakness)
1. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (GPP) และประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สิน
2. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่ำในความเป็นอยู่ในสังคม มีส่วนร่วมน้อยไม่เข้มแข็งและมีการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรออกนอกพื้นที่
3. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งยั่วยุและความรุนแรง เยาวชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การขาดแคลนแรงงาน ทำให้ค่าแรง และต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น
4. สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ยังไม่เข้มแข็ง สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง ทำให้เยาวชนขาดความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่นจากคนในครอบครัว เช่น การหย่าร้าง ปัญหาเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด ความยากจน เป็นต้น
5. สัดส่วนผลผลิตข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดมีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ รวมกัน และประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพต่ำ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
6. กำลังการผลิตของโรงอบข้าวโดยรวม น้อย เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตข้าวต่อปี จำนวนโรงสีขนาด 30 แรงม้าขึ้นไป มีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ที่ผลิตข้าวหอมมะลิ
7. ระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในทุ่งกุลาร้องไห้ และภายในจังหวัดยังไม่ทั่วถึง
8. ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและพื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลง
โอกาส (Opportunity)
1. มีกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความตื่นตัวด้านการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทน รวมทั้งการตื่นตัวในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
2. รัฐบาลมีการกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การดำเนินงานของภาครัฐ
3. ทั่วโลกรู้จักข้าวหอมมะลิจากประเทศไทยโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนแบ่งข้าวหอมมะลิในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับข้าวอื่นๆ และคู่แข่งทางการค้า(ข้าวหอมมะลิไทย) ระดับนานาชาติมีน้อย
4. แนวโน้มตลาดให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยมากขึ้น
5. ได้ขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ในสหภาพยุโรป (EU) และได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
6. มีความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์/นิเวศ/วัฒนธรรมและศาสนามากขึ้น
7. มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทุกปีอยู่ในระดับปานกลาง (1,400 มม.ต่อปี)  ซึ่งเพียงพอต่อภาคการเกษตร
8. ปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น น้ำท่วมในจีน  เวียดนาม  สึนามิในญี่ปุ่น ฯลฯ
9. ศูนย์กลางการเงินมีแนวโน้มเคลื่อนย้ายมาสู่ภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
10. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ทำให้สามารถขยายตลาดการค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียนได้มากยิ่งขึ้น
กลยุทธ์ (WO)  การกำหนดกลยุทธ์ภายใต้ศักยภาพของจุดอ่อนและโอกาส  ได้แก่
1) ยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิต
2) พัฒนาผลิตภาพการผลิตและบริการ
3) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
4) ยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

TOWS MATRIX
จุดอ่อน (Weakness)
1. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (GPP) และประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สิน
2. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่ำในความเป็นอยู่ในสังคม มีส่วนร่วมน้อยไม่เข้มแข็งและมีการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรออกนอกพื้นที่
3. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งยั่วยุและความรุนแรง เยาวชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การขาดแคลนแรงงาน ทำให้ค่าแรง และต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น
4. สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ยังไม่เข้มแข็ง สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็ง ทำให้เยาวชนขาดความรัก ความเข้าใจและความอบอุ่นจากคนในครอบครัว เช่น การหย่าร้าง ปัญหาเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด ความยากจน เป็นต้น
5. สัดส่วนผลผลิตข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ดมีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ รวมกัน และประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพต่ำ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
6. กำลังการผลิตของโรงอบข้าวโดยรวม น้อย เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตข้าวต่อปี จำนวนโรงสีขนาด 30 แรงม้าขึ้นไป มีน้อย เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ที่ผลิตข้าวหอมมะลิ
7. ระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในทุ่งกุลาร้องไห้ และภายในจังหวัดยังไม่ทั่วถึง
8. ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและพื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลง
อุปสรรค (Threat)
1. การเมืองไม่มีเสถียรภาพและเกิดความขัดแย้งด้านความคิดในหมู่ประชาชน
2. ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ปุ๋ย  ยาฆ่าแมลง  และค่าจ้างแรงงาน
3. การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้การแข่งขันด้านการค้า มีแนวโน้มสูงขึ้น ตลาดการค้าข้าวในต่างประเทศมีการแข่งขันสูง (ข้าวชนิดอื่นราคาถูกกว่า) และมีคู่แข่งทางการค้าข้าวหอมมะลิระดับชาติ  เช่น สหรัฐอเมริกา (แจสแมนไรซ์) ข้าวจากประเทศเวียดนาม ตลอดจนคู่แข่งภายในประเทศมีแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น
4. ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ (ปริมาณน้ำฝน  สภาพภูมิอากาศ  ฃห้วงระยะเวลาของฤดูฝน ฯลฯ)  มีผลกระทบต่อการผลิตข้าวหอมมะลิ
5. เกิดโรคระบาดใน คน พืช และสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009   ไวรัสในหมู  
E-coli  ไข้เลือดออก  ฉี่หนู   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
กลยุทธ์ (WT)  การกำหนดกลยุทธ์ภายใต้ศักยภาพของจุดอ่อนและอุปสรรค  ได้แก่
1) บริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน  สิ่งอำนวยความสะดวก  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น