กระบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

คู่มือสำหรับประชาชน : กระบวนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย
หน่วยงานที่ให้บริการ : สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กระทรวงมหาดไทย
 


หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข (ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต
1.  กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย
     1.1 สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity)
     1.2 ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant)
     1.3 ความมีมาตรฐาน(Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า  
           (Satisfaction)
     1.4 มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)

2. คุณสมบัติของผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่สามารถสมัครเข้ารับการคัดสรรฯ
     2.1 เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีชื่ออยู่ในการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ
            OTOP ปี พ.. 2557-8ของจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร
      2.2 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้แจ้งไว้ในการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี พ..
            2557-8
      2.3 ผลิตภัณฑ์ตามข้อ 2.2 ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อย. และหาก
            ผลิตภัณฑ์ใดไม่มีข้อกำหนดของกฎหมายระบุไว้ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานอย่างใด อย่างหนึ่ง  
           ก่อนวันสมัครเข้ารับการ คัดสรรฯ เช่น มผช., มอก. , ฮาลาล, คิว (Qmark), GAP, GMP, HACCP
           และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ทั้งนี้ กรณีผลิตภัณฑ์เครื่องประดับอัญมณีหากไม่มีมาตรฐานใด
           รับรองให้สามารถส่งเข้ารับการคัดสรรฯ ได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างขอการรับรองมาตรฐาน
           ผลิตภัณฑ์ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
         2.3.1 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายใหม่สามารถใช้หนังสือรับรองจาก
                   หน่วยงานที่ยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นหลักฐานแทนใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                   ทั้งนี้ ในระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จะ
                  ถือว่าขาดคุณสมบัติและไม่ประกาศผลการจัดระดับผลิตภัณฑ์
         2.3.2 กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รายเก่าซึ่งใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                 หมดอายุสามารถใช้ใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุสมัครเข้ารับการคัดสรรฯได้ ทั้งนี้
                 ในระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ จะนำผล
                คะแนนที่ได้ คูณด้วย 1 แต่หากยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ในห้วงเวลา
               ดังกล่าว ผลคะแนนที่ได้จะคูณด้วย 0.75
           2.3.3 กรณีที่ไม่อยู่ในคุณสมบัติตามข้อ 2.3.1 และ2.3.2 ให้ใช้หนังสือรับรองการ จดทะเบียน
                    ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ทั้งนี้ใน
                   ระหว่างก่อนประกาศผลการคัดสรรฯ หากไม่ได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนทรัพย์สินทาง
                   ปัญญา จะถือว่าขาดคุณสมบัติและไม่ประกาศผลการจัดระดับผลิตภัณฑ์

3. จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสามารถส่งเข้าคัดสรรฯ
                   ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP สามารถส่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้แจ้งไว้ในการสำรวจและลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี พ.. 2557-8ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ผ่านการรับรองมาตรฐานที่กำหนดไว้ ตามข้อ 2.3 ส่งสมัครเข้ารับการคัดสรรฯ ได้รายละ 1 ผลิตภัณฑ์ (กรณีผลิตภัณฑ์เดี่ยว) หรือ 1 ชุด (กรณีชุดผลิตภัณฑ์)

4. ประเภทผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรฯ
                 ผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรฯ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ตามนิยามความหมายที่ระบุ ต่อไปนี้ ได้แก่อาหาร , เครื่องดื่ม , ผ้า เครื่องแต่งกาย , ของใช้ ของแต่ง ของที่ระลึก และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

5. องค์ประกอบ เกณฑ์การคัดสรร ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
        5.1 ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน (ด้านการผลิต ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านความ
              เข้มแข็งของชุมชน)
       5.2 ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ ( ด้านการตลาด ด้านความเป็นมาของผลิตภัณฑ์)
       5.3 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ (การตรวจสอบ/วิเคราะห์คุณภาพตามประเภทผลิตภัณฑ์ โอกาสทาง
             การตลาดสู่สากล)

6. การจัดระดับผลิตภัณฑ์
            การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ..2559 ผลการดำเนินการคัดสรรฯ จัดระดับผลิตภัณฑ์ มีระดับเดียว คือ ระดับประเทศเท่านั้น โดยใช้หลักเกณฑ์เฉพาะแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ (Specific Criteria) ซึ่งกำหนดคะแนนรวมไว้ 100 คะแนน ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ด้าน คือ หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน หลักเกณฑ์ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำมากำหนดกรอบในการจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ออกเป็น 5 ระดับ ตามค่าคะแนน ดังนี้
           1. ระดับ 5 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 90 -100 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพในการส่งออก
           2. ระดับ 4 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 80 – 89 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล
           3. ระดับ 3 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 70 – 79 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาวได้
           4. ระดับ 2 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 50 – 69 คะแนน) เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ
           5. ระดับ 1 ดาว (ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน) เป็นสินค้าที่ไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาวได้ เนื่องจากมีจุดอ่อนมาก และพัฒนายาก

7. การคัดสรรฯ ดำเนินการ 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง โดยมีระยะเวลาการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป ทราบตั้งแต่ เดือนตุลาคม - เดือนกุมภาพันธ์ และทั้งนี้ แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดสรรฯคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (กอ.นตผ.) และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย อาจพิจารณากำหนด รายละเอียดเป็นครั้งๆไป

ช่องทางการให้บริการ
 สถานที่ให้บริการ
(หมายเหตุ: -)
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ 878 อำเภอ (เป็นหน่วยยื่่นคำขอ)
สำนักงานเขตแต่ละเขต (เป็นหน่วยยื่นคำขอ)/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 09:00 - 16:00 .






ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ
ระยะเวลาในการดำเนินการรวม : 97 วัน
ลำดับ
ขั้นตอน
ระยะเวลา
ส่วนที่รับผิดชอบ
1)
การตรวจสอบเอกสาร
ผู้ผลิต ผู้ประกอบการยื่นคำขอ ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
(หมายเหตุ: -)
1 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน

2)
การพิจารณา
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ผลิต ผู้ประกอบการ จัดประเภทผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดบันทึกข้อมูลการรับผลิตภัณฑ์และบันทึกภาพผลิตภัณฑ์ลงในโปรแกรม
(หมายเหตุ: -)
6 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน

3)
การพิจารณา
คณะทำงานงานพิจารณา ตรวจสอบและกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ที่สมัครเข้าคัดสรรฯ แต่ประเภท ทั้ง 5 ประเภท  ระดับจังหวัด  พิจาณาตรวจสอบกลั่นกรองผลิตภัณฑ์ และสรุปผลการพิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการคัดสรรระดับจังหวัด/กทม. พิจารณาติดตามการคัดสรรและให้ความเห็นชอบรับผลิตภัณฑ์เข้ารับการคัดสรร
(หมายเหตุ: -)
4 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน

4)
การพิจารณา
รายงานผลการรับสมัครให้ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัด/กทม. และส่งข้อมูลการรับสมัครให้กรมการพัฒนาชุมชน
(หมายเหตุ: -)
10 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน

5)
การพิจารณา
คณะกรรมการดำเนินการคัดสรรระดับประเทศตรวจสอบและให้คะแนนผลิตภัณฑ์ตามหลัก เกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่ระดับ 1 - 5 ดาว
(หมายเหตุ: -)
31 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน

6)
การพิจารณา
กรมการพัฒนาชุมชนจัดทำบัญชีประกาศผลการคัดสรรปี 2559 ตั้งแต่ระดับ 1 - 5 ดาว และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการทราบ
(หมายเหตุ: -)
45 วัน
กรมการพัฒนาชุมชน


รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
ลำดับ
ชื่อเอกสาร จำนวน และรายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี)
หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร
1)

บัตรประจำตัวประชาชน
ฉบับจริง 1 ฉบับ
สำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ -
กรมการปกครอง
2)

ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ
ฉบับจริง 1 ฉบับ
สำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ -
กรมการปกครอง
3)

ใบสมัครการคัดสรร
ฉบับจริง 1 ฉบับ
สำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ -
กรมการพัฒนาชุมชน
4)

หนังสือมอบอำนาจจากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
ฉบับจริง 1 ฉบับ
สำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ -
กรมการพัฒนาชุมชน
5)

หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ฉบับจริง 1 ฉบับ
สำเนา 1 ฉบับ
หมายเหตุ -
กรมการพัฒนาชุมชน
6)

ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าคัดสรรแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์
ฉบับจริง 6 ชุด
สำเนา 1 ชุด
หมายเหตุ -
กรมการพัฒนาชุมชน

ค่าธรรมเนียม
ลำดับ
รายละเอียดค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียม (บาท / ร้อยละ)
1)
ไม่มีค่าธรรมเนียม
(หมายเหตุ: -)
 - 


ช่องทางการร้องเรียน แนะนำบริการ
ลำดับ
ช่องทางการร้องเรียน / แนะนำบริการ
1)
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ  อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2141-6077  www.cep.cdd.go.th
(หมายเหตุ: -)
2)
ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(หมายเหตุ: ( เลขที่ 1 .พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 .พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300))

แบบฟอร์ม ตัวอย่างและคู่มือการกรอก
ลำดับ
ชื่อแบบฟอร์ม
1)
เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.. 2559 ประเภทอาหาร
(หมายเหตุ: -)
2)
เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.. 2559 ประเภทเครื่องดื่ม
(หมายเหตุ: -)
3)
เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.. 2559 ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
(หมายเหตุ: -)
4)
เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.. 2559 ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
(หมายเหตุ: -)
5)
เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย พ.. 2559 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
(หมายเหตุ: -)
6)
ใบสมัครการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.. 2559
(หมายเหตุ: -)
7)
ความเป็นมา  วัตถุประสงค์ กรอบการคัดสรร คุณสมผู้ผลิต จำนวนผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งเข้าคัดสรรฯ ประเภทผลิตภัณฑ์ การจัดผลิตภัณฑ์
(หมายเหตุ: -)

หมายเหตุ
-


เอกสารฉบับนี้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลการติดต่อราชการ

วันที่คู่มือมีผลบังคับใช้: 10/07/2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น